มีคำถามจากแฟนเพจเข้ามาว่า ค่าเช่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้างหรือไม่
จากคำถามคลินิกกฎหมายแรงงาน ขอตอบดังนี้
ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน….หากนายจ้างจ่ายเงินนั้นเพื่อช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย อันถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ศึกษาได้จาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2557
จำเลย(นายจ้าง) จ้างโจทก์(ลูกจ้าง)เป็นลูกจ้าง ทำหน้าที่เป็นครูฝึกโยคะ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 66,000 บาทค่าเช่าบ้านเดือนละ 24,000 บาท ค่าเช่าบ้านนั้น จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าที่พักอาศัยให้โจทก์เดือนละ 24,000 บาท หากจำเป็นจำเลยสามารถจัดหาที่พักอาศัยให้โจทก์ โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว และเงินดังกล่าวสามารถถูกยกเลิกได้ โดยจำเลยจะบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเวลา 1 เดือน ดังนั้น ย่อมเห็นได้ว่าค่าเช่าบ้านที่จำเลยจ่ายให้โจทก์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ อันถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
ดังนั้น หากลูกจ้างถูกเลิกจ้าง เงินค่าเช่าจะไม่ถูกนำมาคำนวณเป็นฐานในการจ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา 118
————- 💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า